วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม

 

Entrance
ข้อ 1 แร่รัตนชาติใดมีความแข็งแรงมากที่สุด
1)มรกต 
2)โกเมน 
3)ไพลิน
4)เพทาย
   เฉลย
        ตอบข้อ 3 คำตอบชัดเจนอยู่แล้ว

     ข้อ 2 เกลือแกงเป็นวัตถุดิบที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
ประเภทใดมากที่สุด
       1) โรงงานผงชูรส
       2) โรงงานโซดาไฟ
       3) โรงงานน้ำตาล
       4) โรงงานผงซักฟอก
    เฉลย
       ตอบข้อ 2 เพราะโซดาไฟหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ได้จากอิเล็กโทรลิซิสสารละลาย NaCl  (เกลือแกง) เข้มข้น
    
     ข้อ 3 โรงงานอุตสาหกรรมใดข้างล่างที่ไม่ได้ ใช้คลอรีนในกระบวนการผลิต
       1) อุตสาหกรรมพลาสติก
       2) อุตสาหกรรมทำกระดาษ
       3) อุตสาหกรรมทำสบู่
      4) อุตสาหกรรมทำผงชูรส
   เฉลย
ตอบ ข้อ 3 อุตสาหกรรมผลิตพลาสติกพอลิไวนิลคลอไรด์   ใช้คลอรีนในขบวนการผลิต อุตสาหกรรมทำกระดาษใช้ คลอรีนฟอกสีเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมทำผงชูรสใช้กรด HCI   ซึ่งเตรียมจากคลอรีนดังสมการ H2 + Cl2 -> 2HCl ส่วนอุตสาหกรรมสบู่ไม่ได้ใช้คลอรีนในกระบวนการผลิต (ใช้ไขมันหรือน้ำมันทำปฎิกิริยากับสารละลายเบส)

ข้อ 4 เกลือ NaCl ที่มีเกลือแมกนีเซียมปนอยู่มากเป็นมลทิน จะมีคุณภาพต่ำกว่าและราคาตกเพราะเหตุใด
       1)     แมกนีเซียมไอออนดูดน้ำได้ง่านเกิด Mg2(OH)2 ทำให้เกลือชื้น
       2)     ทำให้เกลือมีสีคล้ำ และมีผลึกขนาดใหญ่
       3)     แมกนีเซียมซัลเฟตดูดน้ำได้ง่ายเกิดเป็น MgSO4 7H2O ทำให้เกลือชื้น
       4)     แมกนีเซียมไอออนเป็ฯคะตะไลต์ให้ NaCl ดูดน้ำเกิดเป็น NaOH ได้ง่ายขึ้น
   เฉลย
       ตอบ  ข้อ 3 แมกนีเซียมซัลเฟตจะดูดน้ำเข้าไปเป็นผลึก  ดังนี้
       MgSO4 + 7H2O -> MgSO4 7H2O

ข้อ 5 สารทั้งสามในข้อใดต่อไปนี้ต้องใช้โซเดียมคลอไรด์หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผ่านกระแสไฟฟ้าลงในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ตัดใดตัวหนึ่ง เข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต
       1) ผงชูรส โซดาแอช ปุ๋ยยูเรีย
       2) ผงชูรส โซดาแอช พีวีซี
       3) ผงซักฟอก พีวีซี ปุ๋ยยูเรีย
       4) ผงซักฟอก ปุ๋ยยูเรีย โซดาแอช
  เฉลย
     ตอบ ข้อ 2 NaOH และ HCI ใช้ในกระบวนการผลิตผงชูรส  NaOH  ได้จากการอิเล็กโทรลิซิส สารละลาย NaCI HCI ได้ จากปฎิกิริยาระหว่าง  H2 กับ CI2  CI2ได้จากกระบวนการผลิตอิเล็กโทรไลซิสสารละลาย NaCI  NaCi ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตโซดาแอช  CI2 ใช้ในการผลืตมอร์นอเมอร์(ไวนิลคลอไรด์)  ซึ่งใช้เตรียมพลาสติกพีวีซี

ข้อ 6 การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากเกินไป จะทำให้ดินเสียหรือเรียกว่า ดินเปรี้ยว ปุ๋ยประเภทนี้ ได้แก่
1) ปุ๋ยยูเรีย
2) ปุ๋ยแอมโมเนีย
3) ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
4) ปุ๋ยโพแทสเซียม
เฉลย
       ตอบ ข้อ 3 เพราะแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4)2So4)  มีสมบัติเป็นกรดอ่อน

ข้อ 7 ข้อใดเป็นความจริงของการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ในระดับอุตสาหกรรม
       1) แก็สไฮโดรเจนที่ผลิตได้จากเซลล์ไดอะแฟรมสามารถนำไปใช้ทำกรดไฮโดรคลอริก ส่วน
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ สามารถนำไปใช้อุตสาหกรรมผลิตเรยอง
       2) แก๊สคลอรีนที่ผลิตได้จากเซลล์ปรอทสามารถนำเอาไปใช้ฆ่าเชื้อโรคในกระบวนการทำน้ำประปา ส่วนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตโมโนโซเดียมกลูตาเมต และใช้เป็นผงชูรสต่อไป
       3) เฉพาะเซลล์เยื่อแลกเปลี่ยนไอออนเท่านั้น ที่มีแก๊สคลอรีนและแก๊สไฮโดรเจนเกิดขึ้น
       4) โซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ได้จากเซลล์เบื่อแลกเปลี่ยนไอออนจะมีความเข้มข้นสูงกว่าที่ได้จากเซลล์ใดอะแฟรมแต่จะน้อยกว่าที่ได้จากเซลล์ปรอท
   เฉลย
       ตอบข้อ 2 แก๊สคลอรีนสามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปาได้   ส่วนสารละลาย NaOH  นำไปใช้ในกระบวนการผลิตโมโนโซเดียมกลูตาเมตซึ่งใช้ทำเป็นผงชูรส ส่วนข้อ 1,3 และ 4 ผิด ให้นักเรียนดูในภาคบรรยาย
  
ข้อ 8 ข้อใดผิด
1) การถลุงแร่เป็นกระบวนการรีดักชัน
2) การถลุงแร่ทำโดยใช้สารเคมีหรือไฟฟ้า
3) การถลุงแร่มีส่วนทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก
4) การถลุงแร่เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนสารประกอบอื่นให้อยู่ในรูปออกไซด์
เฉลย
       ตอบข้อ 4 เพราะการถลุงแร่คือ การแยกโลหะอิสระออกจากสารประกอบออกไซด์ โดยใช้คาร์บอนเป็นตัวรีดิวซ์ ไม่ใช่เปลี่ยนสารประกอบอื่นให้เป็นสารประกอบออกไซด์

ข้อ 9 ในการผลิต NaOH จาก NaCl (aq) โดยใช้ไฟฟ้าในระดับ
อุตสหากรรม ถ้าใช้ปรอทเป็นแค่โทด จะมีข้อดีอย่างไร
       1) ช่วยให้เกิด Cl2 ที่ขั้วบวกมากขึ้น
       2) ช่วยป้องกันแก๊ส Cl2 ละลายน้ำ
       3) ช่วยแยก Na ออกจากสารละลาย NaCl
       4) ช่วยให้แก๊ส H2 เกิดขึ้นที่ขั้วลบมากขึ้น
เฉลย
        ตอบ ข้อ 3 ที่ขั้วแคโทด Na+ จะไปรับอิเล็กตรอนกลายเป็น Na และ Na จะรวมตัวกับปรอท กลายเป็นโซเดียมอะมัลกรัมถ้าไม่ใช้ปรอทเป็นขั้วแคโทด Na จะทำปฏิกิริยากับน้ำ

ข้อ 10 ตัวรีดิวซ์ที่ใช้ในการถลุงดีบุกคือข้อใด
       1) C
       2) Mg
       3) Zn
       4) Zr
เฉลย
       ตอบ ข้อที่ 1 วิธีคิด
            เพราะในการถลุงดีบุกใช้ C และ CO เป็นตัวรีดิวซ์ ดังสมการ
        2C(s) + O2(g) -> 2CO(g)
          ตัวรีดิวซ์               ตัวออกซิไดซ์
        2CO(g) + SnO2(S) -> Sn(l) + 2CO2(g)
          ตัวรีดิวซ์          ตัวออกซิไดซ์

ข้อ 11 ถ้า H2SO4 ราคาลดลงกว่าปัจจุบัน 50% ราคาปุ๋ยชนิดใดจะมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง
1) ปุ๋ยฟอสเฟต ปุ๋ยยูเรีย
2) ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
3) ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต  ปุ๋ยโพแทส
4) ปุ๋ยฟอสเฟต ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
เฉลย
       ตอบ ข้อ 4 เพราะการผลิตปุ๋ยฟอสเฟตและแอมโมเนียมซัลเฟตต้องใช้ H2SO4 

ข้อ 12สาร PSZ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์ มีโลหะชนิดใดผสมอยู่
1) ดีบุก
2) แทนทาลัม
3) ไนโอเบียม
4) เซอร์โคเนียม
เฉลย
       ตอบ ข้อ 4 ส่วนผสมของ PSZ คือ ZrO2  ที่มี Y2O5 ผสม อยู่ร้อยละ 5(Zr คือธาตุเซอร์โคเนียม)

ข้อ 13 ข้อใดไม่ใช่อุตสาหกรรมเซรามิกส์
1)  อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์
2) อุตสาหกรรมซีเมนต์
3) อุตสาหกรรมแก้ว
4) ไม่มีข้อใดถูก
 เฉลย
       ตอบ ข้อ 4 ทุกข้อคืออุตสาหกรรมเซรามิกส์

ข้อ 14 HF ซึ่งเป็นสารพิษ ใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยชนิดใด
1) ปุ๋ยยูเรีย
2) ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
3) ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต
4) ปุ๋ยโพแทส
เฉลย
       3 การผลิตปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟส คือ  
CaF2 3Ca3(PO4)2 + 10H2SO4 -> 6H3PO4 + 10CaSO4 + 2HF  

หินฟอสเฟส
CaF2 • 3Ca3(PO4)2 + 14H3PO4 -> 10Ca(H2PO4)2 + 2HF

แบบฝึกหัดท้ายบท

          1.จงบอกหลักการทั่วไปที่ใช้ในการถลุงแร่โลหะที่เป็นสารประกอบออกไซด์หรือซัลไฟด์ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ

     ตอบ ในการถลุงแร่โลหะในเตาพ่นลม จะมีถ่านโค้ก (ถ่านโค้กประกอบด้วยคาร์บอน)เป็นตัวรีดิวซ์ 

      ตัวอย่างเช่น ZnO + C -> Zn + CO

  

         2. การตรวจสอบอัญมณีเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นของแท้ต้องตรวจสอบสมบัติใดบ้าง

      ตอบ    -ระดับความแข็ง
                  -ความถ่วงจำเพาะ
                  -ค่าดัชนีหักเหของแสง
                  -รูปลักษณะของผลึกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

        3. จงยอกตัวอย่างผลิตภัรฑ์เซรามิกส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

     ตอบ แก้ว  กระเบื้อง  กระถางต้นไม้  อิฐ  ถ้วย  จาน  ชาม  โถส้วม  อ่างล้างหน้า  เป็นต้น

        

   4.  ประเทศไทยมีทรัพยากรใดที่สามารถนำมาใช้ผลิตปุ๋ย ซึ่งเป็นธาตุที่เป็นอาหารหลักของพืชได้ 


ตอบ หินฟอสเฟต ได้ธาตุฟอสฟอรัสใช้ทำปุ๋ยฟอสเฟต  แร่คาร์นัลไลต์ และ แร่ซิลวาไนต์ ได้ธาตุโพแทสเซียมใช้ทำปุ๋ยโพแทส แก๊สแอมโมเนีย ได้ธาตุไนโตรเจนใช้ทำปุ๋ยไนโตรเจน 


          5.  การตั้งโรงงานปุ๋ยแห่งชาติมีประโยชน์อย่างไร

ตอบ        -นำรายได้เข้าสู่ประเทส
               -เป็นการกระจายรายได้สู่ประชาชน
                -ช่วยลดปัญหาการตกงาน


   6.  การผลิตกรด H2SO4 มีผลต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร

ตอบ มีผล ก่อนที่จะได้ H2SO4 จะต้องนำ S มาเผาทำให้เกิดก๊าซ SO2ซึ่งก๊าซ SO2 ส่งผลต่อคน สัตว์ พืช 
            คน สัตว์ – รับน้อยจะเกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง โลหิตจาง รับมากอันตรายต่อปอด ปอดอักเสบ หลอดลมตีบตัน
            พืช – จะฟอกจางสีใบพืชทำให้สังเคราะห์แสงไม่ได้ เกิดฝนกรดไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก
 
 

 


 

     




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น